วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ประกอบเรื่อง



บทที่ ๓ ความรู้ประกอบเรื่อง

ความหมายของชาดก
“ชาดก” (เป็นคำในภาษาบาลีมาจาก “ชาตะ” แปลว่า เกิดลง) ประวัติหรือเรื่องของประพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงบำเพ็ญบารมีต่างๆ เพื่อที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ชาดก มี ๒ ประเภท คือ
๑. นิบาตชาดก เป็นชาดกที่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ถือเป็นพระพุทธวัจนะ มีทั้งหมด ๕๕๐ เรื่อง แบ่งออกเป็นหมวดๆ ตามจำนวนคาถานับตั้งแต่ ๑ คาถา ถึง ๘๐ คาถา ชาดกที่มี ๑ คาถา เรียกว่า “เอกนิบาตชาดก”๒ คาถา เรียกว่า “ทุกนิบาตชาดก”๓ คาถา เรียกว่า “ติกนิบาตชาดก”๔ คาถา เรียกว่า “จตุนิบาตชาดก”๕ คาถา เรียกว่า “ปัญจกนิบาตชาดก”และ ๘๐ คาถา เรียกว่า “อสีตินิบาตชาดก”ชาดกที่มีคาถาเกินกว่า ๘๐ คาถาขึ้นไปเรียกว่า “มหานิบาตชาดก”
มหานิบาตชาดก ๑๐ เรื่อง เรียกว่า “ทศชาติชาดก” หรือ “พระเจ้าสิบชาติ” มีดังนี้

หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
ทศชาติชาดก หรือ มหานิบาตชาดก
ทศบารมี
เต
สุ
เน
ภู
นา
วิ
เว
เตมียชาดก
มหาชนกชาดก
สุวรรณสามชาดก
เนมิราชชาดก
มโหสถชาดก
ภูริทัติชาดก
จันทกุมารชาดก
นารทชาดก
วิธุรชาดก
เวสสันดรชาดก
เนกขัมมบารมี
วิริยบารมี
เมตตาบารมี
อธิษฐานบารมี
ปัญญาบารมี
ศีลบารมี
ขันติบารมี
อุเบกขาบารมี
สัจบารมี
ทานบารมี


๒. ปัญญาสชาดก เป็นชาดกนอกนิบาต แต่งขึ้นจากนิทานพื้นบ้านมี ๕๐ เรื่อง พระภิกษุชาวเชียงใหม่ เป็นผู้แต่งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๐๐-๒๒๐๐ เป็นภาษามคธ โดยเลียนแบบนิบาตชาดก ครั้น พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๘ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์ ดำรงตำแหน่งองค์สภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย เรื่องปัญญาสชาดกจึงแพร่หลาย
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานคำอธิบายไว้ในหนังสือมหาชาติคำหลวง ฉบับ พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่า การศึกษามหาชาติคำหลวงเป็นการศึกษาเพี่อความรู้ในหมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิต ประชาชนทั่วไปไม่รู้จัก เพราะเดิมมหาชาติคำหลวงแต่งเป็นภาษามคธ ไม่ปรากฏผู้แต่ง มีการแปลเป็นภาษาไทยในสมัยกรุงสุโขทัย แต่ต้นฉบับสูญหายไป หนังสือมหาชาติแปลเป็นภาษาไทยที่เก่าที่สุด คือ “มหาชาติคำหลวง”
ในเวลานี้มีจดหมายปรากฏว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีรับสั่งให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตในกรุงศรีอยุธยาแปลแต่ง เมื่อปีขาล พุทธศักราช ๒๐๒๕ และเมื่อกรุงเก่าเสียแก่ข้าศึกนั้นต้นฉบับมหาชาติสูญหายไป ๖ กัณฑ์ คือ กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ กัณฑ์จุลพล กัณฑ์มัทรี กัณฑ์สักบรรพ และกัณฑ์ฉกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตในกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งกัณฑ์ที่ขาดหายไปขึ้นใหม่แทนเมื่อปีจอ จุลศักราช ๑๑๗๖ (พุทธศักราช ๒๓๕๘)
ประเพณีเทศน์มหาชาติ
ประเพณีการเทศน์มหาชาติมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามปกตินิยมจัดเทศน์มหาชาติระหว่างเดือน ๑๒ (พฤศจิกายน) กับเดือนอ้าย (ธันวาคม) วัดที่จัดเทศน์จะแจกใบฎีกาหาเจ้าของกัณฑ์ ผู้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์ใดจะต้องจัดเครื่องกัณฑ์ มีธูปเทียนดอกไม้ และเงินตามจำนวนคาถาในกัณฑ์นั้น รวมทั้งจัดเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุให้เข้ากับกัณฑ์ เช่น กัณฑ์กุมาร จัดกล้วย มะพร้าวอ่อน เป็นเครื่องไทยทาน เป็นต้น
บริเวณที่จัดเทศน์มหาชาติจะมีการประดับด้วยต้นกล้วยต้นอ้อยให้คล้ายนิโครธาราม ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ความนิยมในการฟังเทศน์มหาชาติ หรือเทศน์คาถาพัน คือ ฟังเทศน์มหาชาติให้จบ ๑๓ กัณฑ์ พันคาถาภายใน ๑ วัน เพื่อจะได้มหานิสงส์ไปเกิดในสมัยพระพุทธศรีอาริยเมตไตรย์
การแปลมหาชาติ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า การแปลมหาชาติจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยคงมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานเหลืออยู่ เท่าที่พบหลักฐานและเป็นฉบับสำคัญๆ มีดังนี้


๑. มหาชาติคำหลวง เป็นมหาชาติฉบับแรกเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประชุมนักปราชญ์และกวีแปลเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๕ สำหรับสวดให้พุทธศาสนิกชนฟังคำประพันธ์ที่ใช้มีทั้งโคลง ร่าย ฉันท์ และกาพย์


๒. กาพย์มหาชาติ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้นักปราชญ์และกวีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ แต่งเป็นร่ายยาวและใช้สำหรับเทศน์แต่ยากเกินไปไม่สามารถเทศน์ให้จบภายในวันเดียวได้


๓. มหาชาติกลอนเทศน์ หรือร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นมหาชาติฉบับแปล สำหรับเทศน์ให้จบภายในวันเดียว แต่งด้วยร่ายยาว มีมากมายหลายสำนวน เมื่อกระทรวงศึกษาธิการจะนำมาใช้เป็นแบบเรียน ได้คัดเลือกสำนวนที่ดีมารวมเป็นเล่ม เรียกว่า “ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกฉบับกระทรวงศึกษา” ซึ่งได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนเทศน์สำนวนที่ได้รับเลือกและเพลงประจำกัณฑ์ มีดังนี้
มหาเวสสันดรชาดกประกอบด้วย ๑๓ กัณฑ์ ดังนี้

กัณฑ์
จำนวนพระคาถา
สำนวนที่ได้รับเลือก
เพลงประจำกัณฑ์
๑. ทศพร

๒. หิมพานต์

๓. ทานกัณฑ์
๔. วนปเวสน์
๕. ชูชก
๖. จุลพน
๗. มหาพน
๘. กุมาร
๙. มัทรี
๑๐. สักกบรรพ
๑๑. มหาราช

๑๒. ฉกษัตริย์

๑๓. นครกัณฑ์
๑๙

๑๓๔

๒๐๙
๕๗
๗๙
๓๕
๘๐
๑๐๑
๙๐
๔๓
๖๙

๓๖

๔๘
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สำนักวัดถนน
รัชกาลที่ ๔
พระเทพมุนี (ด้วง) วัดสังข์กระจาย
รัชกาลที่ ๔
พระเทพโมลี (กลิ่น)
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สำนวนที่ได้รับเลือก
รัชกาลที่ ๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สาธุการ

ตวงพระธาตุ

พญาโศก
พระยาเดิน
เซนเหล้า
คุกพาทย์, รัวสามลา
เชิดกลอง
โอดเชิดฉิ่ง
ทยอยโอด
กลม, เหาะ, กระบองกันกราวนอก

ตระนอน

กลองโยน

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สำนักวัดถนน
รัชกาลที่ ๔
พระเทพมุนี (ด้วง) วัดสังข์กระจาย
รัชกาลที่ ๔
พระเทพโมลี (กลิ่น)
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สำนวนที่ได้รับเลือก
รัชกาลที่ ๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

สาธุการ
ตวงพระธาตุ
พญาโศก
พระยาเดิน
เซนเหล้า
คุกพาทย์รัวสามลา
เชิดกลอง
โอดเชิดฉิ่ง
ทยอยโอด
กลมเหาะกระบองกันกราวนอก

ตระนอน

กลองโยน



บารมี ๑๐ ประการที่พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญจนครบในชาติเดียว
๑. ทานบารมี พอประสูติก็ตรัสกับพระมารดาแล้วว่าจะบริจาคทานทั้งปวง
๒. ศีลบารมี เมื่ออยู่ในฆราวาสทรงรักษาอุโบสถศีลทุกๆ ครึ่งเดือน
๓. เนกขัมมบารมี เพื่อละจากกามคุณ ถือเพศดาบสอยู่ที่เขาวงกต
๔. ปัญญาบารมี ทรงใช้พระวิจารณญาณช่วยบรรเทาความเศร้าโศกเสียใจที่ได้ยกพระลูกทั้งสองให้แก่ชูชกไป
๕. วิริยบารมี เมื่อทรงอยู่ในราชสมบัติได้เสด็จออกสู่โรงทาน ๖ แห่งทุกเดือน ไม่เคยขาดออกบรรพชาแล้วก็ทรงบูชาไฟตลอดเช่นกัน
๖. ขันติบารมี ไม่ทรงโกรธที่พระบิดาเนรเทศพระองค์ และทรงอดกลั้นความโกรธเมื่อเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระลูกทั้งสองต่อหน้าต่อตา
๗. สัจบารมี เมื่อตรัสว่าจะให้พระโอรสและพระธิดาแก่ชูชก ก็ทรงให้ดังที่ตรัสไว้
๘. อธิษฐานบารมี ทรงสมาทานมั่นไม่อาลัยต่อการจากไปของสองกุมาร และเมื่อเห็นกองทัพของพระเจ้ากรุงสญชัยยกมา (รับพระองค์กลับเมือง) ก็มิได้หวั่นไหวหรือหวาดกลัว
๙. เมตตาบารมี เมื่อครั้งที่ทรงให้ช้างปัจจัยนาคแก่ชาวเมืองกลิงคราษฎร์ ก็ได้ทรงแผ่เมตตาให้ และเมื่อมาอยู่เขาวงกตก็ทรงแผ่เมตตาแก่บรรดาสรรพสัตว์ทั่วไป
๑๐. อุเบกขาบารมี ทรงตัดความรัก ความโกรธ ความชังได้ทุกเรื่องโดยตั้งเป็นมัชฌัตตารมณ์ (พรทิพย์ แฟงสุด๒๕๕๒: ๑๓๖ – ๑๔๑)    







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น